361 หมู่ 1 ถนนเจ้าฟ้า,
ต.นาน้อย อ.นาน้อย จ.น่าน 55150

โทรศัพท์ (054) 789109
admin@ssonanoi.com

ประวัติอำเภอนาน้อย

ประวัติความเป็นมาของอำเภอนาน้อย

map nanoi

" เมืองเสาดิน  ถิ่นมะขามหวาน  ตำนานดอยผาชู้   เชิดชูพระธาตุพลูแช่ "

 

ประวัติความเป็นมา

                อำเภอนาน้อย ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดน่าน ห่างจากจังหวัดน่าน 60 กิโลเมตร เดิมเรียกว่า “แขวงศรีษะเกษ” ชาวน่านเรียกกันว่า “บริเวณน่านใต้” ได้ยกแขวงศรีษะเกษขึ้นเป็น “อำเภอศรีษะเกษ” เมื่อปี พ.ศ. 2433  โดยมีขุนเกษตรศิริบาล เป็นนายอำเภอคนแรก  ต่อมาในปี 2442 ทางราชการเห็นว่าชื่ออำเภอไปพ้องกับชื่อจังหวัดศรีษะเกษจึงได้ให้เปลี่ยนชื่อใหม่เรียกว่า “อำเภอนาน้อย”
 
สภาพภูมิศาสตร์
                อำเภอนาน้อยมีเนื้อที่ 1,409 ตารางกิโลเมตร หรือ 880,826 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่า มีที่ราบสำหรับเพาะปลูกประมาณ 20% มีลักษณะพื้นที่คล้ายอ่างก้นกระทะ มีภูเขาล้อมเป็นวงรียาวจากแนวทิศเหนือจรดทิศใต้
 
อาณาเขตติดต่อ
                ทิศเหนือ  ติดต่อกับ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
                ทิศใต้       ติดต่อกับ อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน และอำท่าปลาจังหวัดอุตรดิตถ์
                ทิศตะวันออก ติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และอำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์
                ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
 
อาชีพ
                อาชีพหลัก ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยการทำนาเพื่อการบริโภค ปลูกพืชไร่และสวนผลไม้   ผลิตผลหลักทางการเกษตร ได้แก่ มะขามหวาน ข้าวโพดสัตว์ ถั่วเหลือง มะม่วง ยางพารา อุตสาหกรรมในครัวเรือน ทำไม้กวาด ดอกไม้ประดิษฐ์ และผ้าลายน้ำไหล ส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจยากจนถึงพออยู่พอกิน
 
แหล่งน้ำสำคัญ
     1. ลำน้ำแหง  ต้นน้ำอยู่ในเทือกเขาพื้นที่ตำบลสันทะ ไหลผ่านตำบลบัวใหญ่ ตำบลนาน้อย   ตำบลศรีษะเกษ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำน่านในเขตอำเภอเวียงสา
     2. ลำน้ำหิน ต้นน้ำอยู่ในเขตตำบลสันทะ ไหลผ่านตำบลสถาน ตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาหมื่น ตำบลเชียงของ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำแหง
     3. ลำน้ำกาด ต้นน้ำอยู่ในเขตตำบลศรีษะเกษ ไหลลงสู่ลำน้ำแหง
     4. ลำน้ำหลม   ต้นน้ำอยู่ในเขตตำบลสันทะ ไหลลงสู่ลำน้ำแหง
     5. ลำน้ำสระ ไหลผ่านตำบลน้ำตก และไหลไปรวมกับลำน้ำแหง ที่บริเวณหน้าอ่างเก็บน้ำแหง
     6. อ่างเก็บน้ำแหง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง กั้นแม่น้ำแหงมีความจุ 13 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ใช้น้ำทางการเกษตร มี 3 ตำบล 22 หมู่บ้าน ห่างจากตัวอำเภอประมาณ  4 กิโลเมตร 
     7. แม่น้ำน่าน  
     8. อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 6 แห่ง ได้แก่ อ่างน้ำหก อ่างห้วยแต อ่างห้วยหละ อ่างห้วยเหล็ก อ่างห้วยป่าขุย และอ่างห้วยถ้ำ

ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

          มีป่าไม้ที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 2 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน และอุทยานแห่งชาติขุนสถาน โดยพื้นที่ป่าส่วนใหญ่ของอำเภอนาน้อยอยู่ในเขตป่าสงวน สามารถแบ่งออกเป็นจำนวน 5 พื้นที่ป่า ดังนี้
          1. ป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ มีเนื้อที่ประมาณ 527,969 ไร่
          2. ป่าน้ำหว้า ห้วยสาลี มีเนื้อที่ประมาณ 533 ไร่
          3. ป่าแม่สาครฝั่งขวา 75 ไร่
          4. ป่าสาลีก 3,010 ไร่
          5. ป่าห้วยงวง และห้วยสาลี 232,680 ไร่
          และมีพื้นที่ป่าที่อยู่นอกเขตป่าสงวน โดยกันออกจากป่าสงวน มีพื้นที่ 34,389 ไร่ มีไม้ที่สำคัญอันได้แก่ ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ตะเคียน ไม้เต็ง ไม้รัง          
 
การแบ่งเขตการปกครอง
          1. ลักษณะการปกครองท้องที่ แบ่งออกเป็น 7 ตำบล 68 หมู่บ้าน
          2. ลักษณะปกครองท้องถิ่น แบ่งออกเป็นเทศบาลตำบล 1 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 7 แห่ง
 
ข้อมูลสถานศึกษา
          1. โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 29 โรง
          2. โรงเรียนมัธยมขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 11 โรง
          3. โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา (ม.6) จำนวน 1 โรง คือ โรงเรียนนาน้อย
 
สถานบันการเงิน
          1. ธนาคารออมสิน สาขานาน้อย
          2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขานาน้อย
 
khunsathan
 
อ่าน 7376 ครั้ง